วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การใช้ภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้องและกำกวม

 1) อินเทรนด์ ( in trend for) คำนี้อินเทรนด์มาก ๆ เอ๊ย...ฮิตมาก ๆ ในปัจจุบันสามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง
เช่น  เด็กสมัยนี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า " มันทันสมัย "  คุณอาจจะติดปากว่า "It is in trend." คำว่า  " ทันสมัย "  ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า "in trend" อย่างคนไทยหรอกครับ
เค้าจะใช้คำว่า  "trendy" หรือ "fashionable" ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น  a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย , a  fashionable  restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be  เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้
2) เว่อร์ ( over) เช่น  ใยคนนั้นทำอะไรเว่อร์ๆ  She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ ฝรั่งที่ได้ยินคุณพูดเช่นนี้ คงมึนตึบพร้อมทำสีหน้างง ๆ ว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ ?
พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริงควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า "exaggerate" เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท เช่น "He said  you walked 30 miles." เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์  "No - he's exaggerating. It was only abou 15." ไม่หรอกเค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง  
ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์น่ะ ก็บอกว่า You're exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ น่ะ อาจใช้ว่า Don't  exaggerate.
ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า "overact" เช่น You're overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง)
 
3) ดูหนัง soundtrack เวลาคุณจะบอกใครว่าฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษอย่าพูดว่า "I want to watch  a  soundtrack film." แต่ควรจะใช้ว่า "I want to watch an  English film."
เพราะความหมายของคำว่า "soundtrack" คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ต่างหากล่ะครับ ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า "I  want to watch an English film that is dubbed into Thai." เพราะคำกิริยาว่า "dub" คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนังหรือรายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น
ส่วนหนังที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า "a  subtitled film" ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า  "subtitles" ( ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะครับ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ
หนังบางเรื่องจะมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาเดียวกับที่นักแสดงพูดเรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า "closed-captioned films / คำหวงห้าม / television  programs" หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า "CC"
เช่น  You should watch a  closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ
 4) นักศึกษาปี 1 คนไทยมักเรียกว่า "freshy" ซึ่งฝรั่งไม่รู้เรื่องหรอกครับเพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษาอังกฤษเค้าจะใช้คำว่า "fresher"  หรือ "freshman" เช่น  He is a  fresher. หรือ He is a  freshman. หรือ  He is a first-year student. เขาเป็นนักศึกษาปี 1
ส่วนปีอื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้วครับ คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior
5) อัดหรือบันทึกคนไทยมักพูดทับศัพท์ว่าเร็คคอร์ด (record) คำๆ นี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำกิริยาเพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่ง stress กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรกคือ " เร็ค-คอร์ด " เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการซื้อแผ่นเสียง , I  broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง
แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่แปลว่าอัดหรือบันทึก ต้อง stress พยางค์หลังซึ่งจะอ่านว่า " รี-คอร์ด " เช่น I'll record the  film and we can all watch it  later. ฉันจะอัดหนังเราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้
ส่วนเครื่องบันทึกเราเรียกว่า "recorder" อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์
6) ต่างคนต่างจ่ายเรามักใช้ American share รับรองว่าฝรั่ง (ต่อให้เป็นชาวอเมริกันด้วยครับ) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน  ถ้าคุณจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า "Let's go Dutch." หรือ "Go Dutch (with somebody)."
อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า ? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวนอย่างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า  "You pay for yourself." คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่างจ่าย
แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ (ไม่ใช่เล่นไพ่นะครับ) เลี้ยงมื้อนี้เอง คุณควรพูดว่า "It's my treat this time." หรือ "My  treat." หรือ "It's on me. " หรือ  "All is on me. " หรือ " I' ll pay for you this time." ทั้งหมดแปลว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง  
ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืนให้บอกว่า " It's your treat  next time."
7) ขอฉันแจม ( jam)  ด้วยคน ในกรณีนี้คำว่า  " แจม " น่าจะหมายถึง " ร่วมด้วย "  เช่น We are going to  eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอกเธอจะไปด้วยมั้ย ? ในภาษาอังกฤษไม่ใช้คำว่า jam
ในกรณีแบบนี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า "Do you want to join us?",  "Do you want to come with us?" หรือ "Do you want to  come along?" จะดีกว่าครับ
8) เขามีแบ็ค ( back)  ดี  "He has a good back." ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้างหลังของเค้า  เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่คุณกำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนับสนุน ซึ่งต้องใช้ "a backup" ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่งของที่ช่วยสนับสนุนช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลังใจให้ 
9) Where you go? (แวร์ ยู โก) คุณไปไหน? เป็นภาษาอังกฤษไทยที่เราได้ยินค่อนข้างบ่อย เวลาคนฝรั่งมายืนรอรถเมล์ หรือเวลามาถามทาง เราควรจะใช้คำว่า Where are you going? (แวร์ อาร์ ยู โกอิ้ง) เหมาะสมกว่า ไม่ต้องคิดอะไรมากครับ หากต้องการจะถามฝรั่งว่าคุณจะไปไหน ให้ท่องขึ้นใจเลยว่า Where are you going? (ศัพท์นี้ผมได้ยินนานมากบนรถเมล์สาย 72 เมื่อปี 44 เป็นนักศึกษาบริเวณย่านเทเวศน์)
           10)It is more cold today. หรือ It is more warm today. วันนี้อากาศเย็นมากหนาวมาก หรือ วันนี้อากาศร้อนอบอ้าวมาก เวลาเราจะเปร่ยๆ บอกฝรั่งว่า วันนี้อากาศเป็นเช่นไร ลองเปลี่ยนจากประโยคข้างบนเป็นคำว่า It is colder today จะดีกว่านะครับ น่าจะใช้ได้ดีกับอากาศช่วงนี้
          11) I will telephone you later. ผมจะโทรหาคุณภายหลัง ลองใช้ประโยคนี้ดูครับ I will call you later. หรือ I will phone you later. (ได้ยินข้างตู้โทร.บังเอิญรออยู่ด้วย)

        12) I can to speak English ฉันสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ หรือ I cannot to speak English ฉันพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ประโยคนี้คนไทยก็ใช้ผิดบ่อยครับ ส่วนมากหากเราจะพูด ควรจะพูดว่า I can speak English ผมหรือฉันสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ปกติ หลังกริยาช่วย Helping verb คือ Can ไม่ค่อยนิยมเติม to
*** อีกกรณีหนึ่งบางคนชอบใช้คำว่า I don?ft speak English ผมไม่พูดภาษาอังกฤษ แทนคำว่า I cannot speak English ฉันไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ความแตกต่างระหว่างสองคำว่า I cannot speak English คืออยากพูดแต่พูดไม่ได้ ส่วน I don?ft speak English ฉันไม่พูดภาษาอังกฤษ คือพูดได้ แต่ไม่อยากพูด ต้องนำไปให้ถูกด้วยนะครับ

        13) My father and my mother want me to study. พ่อแม่ของฉันต้องการให้ฉันเรียนหนังสือ จะว่าไปแล้วประโยคนี้มันก็ไม่ได้ผิดร้ายแรงอะไรมากมาย แต่อาจจะเป็นเพราะใช้คำฟุ่มเฟื่อยเกินไปและใช้กาลไม่ถูก หากคิดว่าประโยคนี้ไม่เหมาะ ลองมาใช้ประโยคนี้ดูครับ My parents wanted me to study.

         14) I am thinking to change my job. ผมกำลังคิดว่าจะเปลี่ยนงานหรือหางานใหม่ทำ ควรจะใช้ประโยคนี้เหมาะสมกว่าครับ I am thinking of changing my job.

          15) I am boring in the lessons. ผมหรือเดี๊ยนเบื่อวิชานี้ แต่ประโยคนี้แปลว่า ผมเป็นคนน่าเบื่อในวิชานี้ แต่หากเราจะบอกว่าผมเบื่อวิชานี้ หรือชั่วโมงนี้ ต้องพูดว่า I am bored in the lessons.

         16) He/ She has much money. เขา/ หล่อน มีเงินเยอะมาก ควรจะใช้ประโยคนี้ดีกว่าครับ He/ She has a lot of money. เขา / หล่อน มีเงินเยอะมาก

           17) I am not believing you. ฉันกำลังจะไม่เชื่อคุณ ลักษณะนี้จะเห็นได้ชัดว่าเป็นภาษาอังกฤษแบบไทย ควรจะใช้คำว่า I don?ft believe you ฉันไม่เชื่อคุณหรอก.

         18) It? often raining here ที่นี่ฝนมักตกบ่อยๆ ควรจะพูดว่า It often rains here. ดีกว่าครับ
         19)You speak a very good English คุณพูดภาษาอังกฤษได้ดีมาก ควรจะพูดว่า You speak very good English คุณพูดภาษาอังกฤษได้ดีมาก

           20) I want go home ฉันอยากกลับบ้าน ควรจะพูดว่า I want to go home ดีกว่านะครับ

          21) ส่วนข้อนี้เวลาฟังฝรั่งต้องฟังให้ดีนะครับ เกี่ยวกับ How are you doing? สบายดีไหม เป็นไงบ้าง กับ What are you doing? กำลังทำอะไรอยู่หรือ อย่าจำสับสนนะครับ

          22) Please listen me. ได้โปรด ฟังผมหน่อย ควรจะพูดว่า Please listen to me. หรือจะพูดว่าอะไรก็ช่าง เช่น You never listen to me. คุณไม่เคยฟังผมเลย หรือ She never listens to me หล่อนไม่เคยฟังผมเลย

           23) เวลาเข้าไปยังร้านอาหาร จะมีศัพท์หนึ่งที่คนไทยมักจะพูดติดปาก นั่นก็คือ Menu เมนู แต่ฝรั่งมักจะออกเสียงว่า เมนิว ส่วนเรียกให้บ๋อยมาเก็บเงิน ก็ไม่ต้องตะโกนบอกว่า เช็คบิล นะครับ แค่บอกว่า บิล พลีส ก็พอแล้ว

          24) This is the first time I am here. นี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้มาที่นี่ ควรจะใช้คำว่า This is the first time I have been here. ดีกว่าครับ

         25) I see เรามักจะได้ยินฝรั่งพูดบ่อยๆในการสนทนา เป็นการเชิงรับ แปลว่า อ๋อ เหรอ หรือครับ เราสามารถนำไปใช้แทนคำว่า Yes ได้ จะทำให้การสนทนามีความสนุกมากขึ้น และคำว่า You know? แปลว่า รู้ไหม หากเป็นภาษาไทยก็น่าจะแปลว่า นี่ ๆ เธอรู้ไหม?

          26) Please explain me what you want ประโยคนี้เหมาะสำหรับพนักงานขายสินค้าครับ หมายความว่า ได้โปรดอธิบายให้ผมทราบหน่อยสิครับว่า ท่านต้องการอะไร แต่หากจะให้สมบูรณ์แบบต้องพูดว่า Please explain to me what you want.

         27) I want to my English better ผมต้องการให้ภาษาอังกฤษของผมดีขึ้น ควรจะพูดว่า I want to better my English น่าจะรื่นหูฝรั่งกว่าครับ.

**** ประโยคที่ได้ยกให้มาทั้งหมด ส่วนมากได้ยินกับหูตัวเอง ป้ายรถเมล์บ้าง หูไม่รักดีไปได้ยินชาวบ้านชาวช่องเขายืนคุยกับฝรั่งบ้าง (หูหาเรื่อง) ฯลฯ บางครั้งก็เกิดความสงสัยเองว่า คนอื่นพูดไป ถูกต้องหรือเปล่า ก็ไปเสาะแสวงหาเพื่อนฝรั่งถามมาบ้าง ก็ได้คำตอบที่ออกมานั่นแหละครับ
สุด ท้ายนี้หากเกิดข้อผิดพลาดประการใดในการอธิบายไม่ชัดเจนก็ต้องขออภัยด้วยนะ ครับ หากมีข้อผิดพลาดอันใดที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นความผิดพลาดที่ผมไม่ได้เจตนาจะให้เกิดขึ้น วัตถุประสงค์แค่อยากให้แบ่งบันความรู้แค่หางอึ่งของผมให้กับอีกๆหลายคนๆ. ขอบคุณครับ (หากมีเวลาจะนำเสนอ คำว่า Wanna และคำว่า Gonna แปลว่าอะไร ทำไมถึงไม่มีในดิก)

Good bye for now แปลว่า ไปหละนะ
ที่มาจาก http://www.comscience.net/index.php?topic=165.0
ที่มาจากhttp://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2009/07/14/entry-2 

3 ความคิดเห็น:

  1. เป็นข้อความที่ดีที่ทำให้เราเข้าใจการใช้ภาษาอักกฤษให้ถูกต้อง ถ้ามีข้อมูลดีๆ ก็นำมาบอกต่อกันด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้ภาษาอังกฤษมากๆ เลย

    ตอบลบ
  3. เป็นประโยคที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้เลย จะนำไปประยุกต์ใช้นะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ